Taking too long? Close loading screen.
We Are What We Do

** จัดส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อ 1,000฿ ขึ้นไป

มาตรฐานการตรวจวิเคราะห์กัญชง-กัญชา EP2

จากบทความที่แล้วก็ได้รู้จักกับสารสำคัญของกัญชง-กัญชาที่ต้องตรวจวิเคราะห์กันไปแล้ว ใครยังไม่ได้อ่านก็กดลิ้งค์นี้ได้เลย >> https:///hemp-standard-lab-ep1/ ซึ่งวันนี้แอดจะพามารู้จักกับสารกลุ่มที่ 2 นั้นก็คือกลุ่ม Heavy Metals

โลหะหนักตกค้าง (Heavy metal)
โลหะหนัก คือ สารปนเปื้อนที่ติดมากับกัญชง-กัญชา ในขั้นตอนปลูก ซึ่งกัญชง-กัญชา เป็นพืชที่มีความไวต่อการดูดโลหะหนักมาก โดยปกติแล้วโลหะหนักจะถูกดูดซึมจาก ปุ๋ย น้ำ แล้วก็ดินที่ใช้ปลูก โลหะที่มีความถ่วงจําเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป ได้แก่ ดีบุก สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว สารหนู ปรอท เป็นสารที่มีอัตราการสลายตัวค่อนข้­างช้า หากร่างกายได้รับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายอาจจะเกิดอาการ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น นี้เป็นเหตผลสำคัญว่าทำไมต้องตรวจ กัญชง กัญชา ก่อน บริโภค

ในส่วนของ Kannabiz Tech Lab ที่รับตรวจวิเคราะห์สารกลุ่ม Heavy Metals ก็สามารถตรวจ ได้ทั้ง Lead (ตะกั่ว) , Arsenic (สารหนู), Mercury (ปรอท), Cadmium

ปัจจุบันมีเกณฑ์กำหนดค่าของโลหะหนักตกค้างไว้ตาม พรบ ๔๑๔
สามารถดูเพิ่มเติม >> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/118/T_0017.PDF

(เครื่องมือที่ใช้ตรวจของ Kannabiz Tech Lab : ICP-MS (Inductively Coupled Plasma-Mass Spectrometer)

เป็นเทคนิควิเคราะห์ปริมาณธาตุและโลหะปริมาณน้อยมาก ระดับ ppb และ ppt สามารถวิเคราะห์ได้หลายธาตุในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยอาร์กอนพลาสม่าเพื่อให้แตกตัวเป็นไอออนประจุ +1 และเผาตัวอย่างที่ฉีดเป็นละอองฝอยในเปลว จากนั้นส่งต่อไปท้าการแยกและตรวจวัดมวลสารตามค่ามวลต่อประจุ (m/z) ด้วย Mass spectrometer ชนิด Quadrupole เทคนิคนี้ยังเป็นที่นิยมในการตรวจวัดปริมาณของโลหะหนักอีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจจะนำผลผลิต หรือ ผลิตภัณฑ์ของท่านมาตรวจกับเรา หรืออยากรู้ Promotion สำหรับการตรวจวิเคราะห์กัญชง-กัญชา สามารถดูหรือลงทะเบียนได้ที่ > https://www.kannabiztech.co.th/register-analysis-testing/

สามารถติดต่อได้หากสนใจผ่านช่องทางนี้เลยจ้า
Inbox : KannabizTech
Line@ : @Kannabiz.Tech
E-Mail : Sale@Kannabiztech.co.th
Tel. : 02-026-6909

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานการตรวจวิเคราะห์กัญชง-กัญชา EP6

กลุ่ม Pesticide Resudues หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ซึ่งจะเกิดได้เมื่อมีการใช้สารปราบศัตรูพืช กับต้นกัญชง-กัญชา จึงอาจทำให้เกิดการตกค้าง

อ่านต่อ »