ดร.สริตา ปิ่นมณี นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) ซึ่งเป็นผู้ดูแล “โครงการวิจัยและพัฒนากัญชงและพืชสกุล Cannabis เป็นพืชเศรษฐกิจและพืชทางเลือกใหม่บนพื้นที่สูง” เปิดเผยว่า สาร CBD (Cannabidiol) และ THC (Tetrahydrocannabinol) จัดเป็นสารในกลุ่มคานนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ พบในพืชสกุล Cannabis คือ กัญชา (Marijuana) และ กัญชง (Hemp) โดยสารสำคัญ THC และ CBD มีมากในส่วนของช่อดอก สกัดได้จากช่อดอก ไม่ใช่น้ำมันหรือการสกัดจากเมล็ดกัญชงสำหรับสาร CBD นั้น ไม่จัดเป็นยาเสพติด ซึ่งเป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Non-psychoactive) ไม่ทำให้มึนเมา โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด ปกป้องเซลล์ประสาท ต้านชัก แก้ปวด ฤทธิ์ต้านเนื้องอก ต้านอาการอักเสบ ต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา และอาหาร ส่วนสาร THC จัดเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 (องค์การอนามัยโลก) มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive) ทำให้เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ทำให้ง่วง หลับง่าย กระตุ้นการอยากอาหาร ต้านปวด ต้านอาเจียน และคลายกล้ามเนื้อ แต่ทำให้เสพติดได้โดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ไม่เป็นยาเสพติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้แก่ ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ทำผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร และเครื่องสำอาง โดยมีข้อแม้ให้สารสกัดดังกล่าว จะต้องได้จากกัญชงหรือกัญชาที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้นหากเป็น CBD ที่ได้จากการนำเข้ายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้นถ้าต้องการใช้ CBD ต้องปลูกกัญชง หรือกัญชาเองในประเทศไทยขอบคุณที่มาจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)
ญี่ปุ่นกับก้าวที่สำคัญสู่การปฏิรูปกัญชา
รัฐบาลญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายควบคุมกัญชาเพื่ออนุญาตให้นําเข้าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกัญชาที่มี THC น้อยกว่า 0.03% โดย THC จะถูกจัดประเภทเป็นยาเสพติดภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมยาเสพติดและจิตประสาท พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มพลเมือง และองค์กรต่างๆ คัดค้านการจัดประเภทการใช้กัญชาใหม่เป็นอาชญากรรม รัฐบาลจะกําหนดระดับ THC ที่ได้รับอนุญาตในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกัญชาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า